อาชีพ ของ ชาลส์ มาร์ทิเน

Martinet at EXPCon in 2010

เขาทำงานให้กับนินเท็นโดตั้งแต่ปีค.ศ. 1990 โดยการพากย์เสียงเป็นมาริโอในวิดีโอเกม[4]

มาร์ทิเนได้งานนี้ เพราะว่าวันหนึ่ง เพื่อนของเขาบอกว่ามีงานรับสมัคร "พูดกับผู้คนในฐานะช่างประปา " (talk to people as a plumber) เขาไปถึงที่นั่นตอนนาทีสุดท้ายก่อนที่ผู้กำกับจะเก็บของ เขาจึงถามผู้กำกับว่า "ให้ผมอ่านอันนี้ได้ไหม?" ทางผู้กำกับอนุญาตให้อ่านแล้วกล่าวว่า "สมมุติว่าคุณเป็นช่างประปาจากบรุกลิน" ตอนแรก มาร์ทิเนว่าแผนพูดเป็นเสียงอเมริกันเชื้อสายอิตาลีที่มีเสียงลึกและแหบ เขาจึงคิดว่าเสียงนี้เด็กอาจจะไม่ชอบ ดังนั้งเขาจึงทำเสียงให้นุ่มและดูเป็นมิตร [5] มาร์ทิเนกล่าวว่าเขาได้แรงบันดาลใจจากPetruchioในเรื่อง The Taming of the Shrew ของวิลเลียม เชกสเปียร์.[4]

เขาพากย์เสียงเป็นมาริโอ, ลุยจิ, วาริโอ, วาลุยจิ, โท้ดส์วอร์ธ, เมทัลมาริโอ, ชาโดว์มาริโอ,[6] เพียนตา (ชาย), มินิมาริโอ, เบบีมาริโอ, เบบีลุยจิ, เบบีวาริโอ, วาร์ท, เมาเซอร์, ไทรไคลด์ และคลอว์กริป ผลงานของเขาปรากฏในเกมทั้งรุ่นภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น และเขาได้รับการบันทึกลงในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ในฐานะบุคคลที่พากย์ตัวละครเดียวกันในเกมมากกว่า 100 เกม[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชาลส์ มาร์ทิเน http://www.behindthevoiceactors.com/Charles-Martin... http://www.charlesmartinet.com/ http://www.charlesmartinet.com/voiceover.html http://www.goninpodcast.com/mario.mp3 http://www.imdb.com/name/nm0553409/ http://imgur.com/a/arIac http://www.sacanime.com/?page_id=5436 http://sierrachest.com/index.php?a=person&id=2029&... http://sceneworld.org/blog/2015/03/08/podcast-epis... http://www.thesun.co.uk/article/0,,2001310001-2007...